ของฝากศรีลังกา ประเทศศรีลังกา เป็นประเทศที่ค่อนข้างจะสงบ การเป็นอยู่ของชาวศรีลังกา ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และของฝากส่วนเมื่อมาทัวร์ศรีลังกา นั่นก็คือผลิตผลจากชาวไร่ เช่น ชา
ชาชีลอน (Ceylon Tea)
ของฝากศรีลังกา มันมีชื่อเสียงที่สุดในโลก ชาชีลอน และชาที่ขายดีที่สุดและคุณภาพสูงที่สุดในโลกคือ B.O.P.F. (Broken Orange Pekoe Fannings) มีหลายยี่ห้อและแน่นอนว่ามีราคาแพงกว่าชาประเภทอื่น ในภาษาไทย คำว่า “ชา” หมายถึงเครื่องดื่มที่ได้จากการต้มใบและดอกของต้นชาในน้ำเดือด คำนี้อาจเป็นรูปแบบหนึ่งของคำกวางตุ้ง “cha” หรือคำภาษาจีนกลางหรือภาษาจีนกลาง “cha” ไม่เป็นไรขอบคุณ. ชามีมาตั้งแต่สมัยกลางกรุงศรีอยุธยา โดยสยามและชาวจีนที่มาค้าขายกับสยามในขณะนั้น เขาเป็นพ่อค้าชาวจีนจากชายฝั่งตะวันออกของจีน จากเมืองกวางโจว จากเมือง Amouan ผู้พูดภาษากวางตุ้งใช้คำว่า “ยำชะอำ” เพื่อหมายถึงการดื่มชา อย่างไรก็ตาม คนไทยนิยมเรียกเจี่ยเต้ ซึ่งเป็นชื่อแต้จิ๋ว เพราะคนจีนที่มาเมืองไทยส่วนมากเป็นคนจีนแต้จิ๋ว พวกเขาอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ทางตอนใต้ ชาวไทย-มาเลย์ทางภาคใต้เรียกชาว่า “เต้” ตามชื่อชาวแต้จิ๋ว อย่างไรก็ตาม วิธีที่ชาวไทยตอนใต้เตรียมชาจะเป็นแบบอินเดียมากกว่าจีน ชาเมาทั่วไป มีทั้งชาร้อนและชาเย็น ชาทั้งหมดเป็นชาดำ ชาแดง หรือชาตะวันตก โดยจะมีหรือไม่มีนมก็ได้ ต่างประเทศที่หมกมุ่นอยู่กับชามากที่สุดคือชาวอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้แพร่นิสัยนี้ไปยังชาวอเมริกันและชาวยุโรปอื่นๆ จนกระทั่งพวกเขายอมรับการดื่มชาเป็นธรรมเนียมของตนเอง
อัญมณี (GEMS)
อัญมณี (GEMS) อัญมณีของศรีลังกาที่ชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ
- แซฟไฟร์ (Sapphire) หรือที่คนไทยเรียกว่า “ไพลิน” ต้องเป็นสีน้ำเงิน ชมพู และเหลืองจะมีราคาดีที่สุด
- เพชรตาแมว (Cat’s Eyes) มีเหลืองและเขียว
- โกเมน(Grnet) มีแทบทุกสี ยกเว้นสีน้ำเงิน
- พลอยอะความารีน(AQuaamarine) จะมีสีเขียวปนน้ำเงินอ่อน
- บุษราคัม (Topaz) หรือพลอยที่มีสีเหลือง แต่สีที่มีราคาแพงคือน้ำเงิน (Blue Topaz)
เมืองที่มีการขุดพบอัญมณีมากที่สุดมีชื่อเสียงที่สุดคือ “รัตนปุระ” เรื่องราวของอัญมณีศรีลังกา เริ่มมีมาครั้งสมัยกษัตริย์โซโลมอนให้ของขวัญกับพระราชินีสุดที่รักของพระองค์ ที่ทรงพระนามว่า “ซีบา” อันเป็นอัญมณีจากศรีลังกา เพชรตาแมวหนัก 105 กะรัตที่ขุดพบในทุ่งนาเมืองรัตนะปุระ ตกอยู่ในความครอบครองของกษัตริย์อังกฤษตกทอดมาถึง 4 พระองค์คือ เริ่มจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ยอร์จที่ 5 เอ็ดเวิร์ดที่ 8 และพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 2 รวมไปถึงไพลินที่ใหญ่ที่สุดบนมงกุฎของราชวงศ์อังกฤษชื่อว่า “Blue Belle of Asia” และ “Star of India” และเข็มกลัดรูปเสือที่ทำโดยคาร์เทียร์ (Cartier) ในปี ค.ศ. 1930 ตามคำสั่งของดัชเซสแห่งวินเซอร์ (Duchess of Windsor) และนางวอลลิส ซิมป์สัน (Willis Simpson) ผู้ครอบครองไพลินจากศรีลังกาหนัก 152.35 กะรัต ตัวเลขในปี พ.ศ. 2545 มูลค่าส่งออกอัญมณีประเภทต่างๆ ของศรีลังกาสูงถึง 9 หมื่นล้านบาท และยังส่งออกได้มากอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
เครื่องเทศ (Spices)
เครื่องเทศ (Spices) นักท่องเที่ยวที่มาเยือนศรีลังกามีโอกาสไปเมืองแคนดี้ ขอแนะนำให้แวะชมสวนสมุนไพรและเครื่องเทศ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแห่งใกล้ๆ เมือง ซึ่งเราจะได้เห็นต้นจริงๆ ขอบบรรดาพืชพันธุ์สมุนไพร เครื่องเทศต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด น่าสนุกและได้ความรู้ ไม่ควรพลาด ไม่ว่าจะเป็นต้นโกโก้ ต้นอบเชย ต้นกระวาน ต้นกานพลู ต้นขมิ้น ต้นจันทน์เทศ ต้นโคเคน ต้นจันทน์หอม เป็นต้น
เชื่อแน่ว่า หลายๆ ท่านก็ยังไม่เคยเห็นต้นจริงๆ ของสมุนไพรและเครื่องเทศเหล่านี้เลยในชีวิต น่าสนใจมาก ไม่ควรพลาดโอกาสเป็นอย่างยิ่งนอกจากนี้ก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญนำชมอธิบายโดยตลอดด้วยจากนั้นก็จะได้ชมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากสมุนไพร เช่น ผงโกโก้ชงดื่ม ชาสมุนไพร ชาเครื่องเทศ ยาสีฟันสมุนไพร น้ำมันหอม ครีมบำรุงผิว สบู่ ยากันยุง ครีมว่านหางจระเข้ ยาเม็ด-ยาน้ำสมุนไพร และขี้ผึ้งสมุนไพร มีความแตกต่างและคล้ายคลึงกันอยู่
สินค้าหัตกรรมประเภทต่างๆ (Craftsmanship)
ของฝากศรีลังกา สินค้าหัตกรรมประเภทต่างๆ มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่า “นาททะลาโพธา” แปลว่า หมู่บ้านของช่าง (Craft Village) อยู่ห่างจากเมืองแคนดี้ไป 6 กิโลเมตร มีการปั้นหม้อทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องแกะสลักไม้ เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ฝีมือประณีต สวยงามมาก ราคาก็ไม่แพง ในห้างสรรพสินค้าของรัฐบาลชื่อว่า “ลักศาลา” (Laksala) ก็มีสินค้าหัตกรรมประเภทต่างๆ จำหน่ายอยู่มากมายหลากหลายชนิด ซื้อหาได้สะดวก ราคายุติธรรม และเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี
นอกจากนี้ยังมีโรงงานมากมายอยู่ในเมืองแคนดี้ สามารถแวะเยี่ยมชมได้ฟรีและซื้อหาได้ในราคาต่อรองได้ด้วย เช่น บาติก ผ้าลูกไม้ เครื่องหนัง เครื่องเขิน เครื่องจักรสาน ผลิตภัณฑ์จากกระดองเต่า เป็นต้น รวมทั้งร้านค้าขนาดใหญ่ ที่จำหน่ายสินค้า ของที่ระลึกต่างๆ ครบแทบทุกประเภท ในกรุงโคลัมโบมีอยู่มากมายหลายร้านด้วยกัน